วิดีโอแนะนำ
ประวัติเมืองพะเยา
เพลงประจำจังหวัด
เมืองภูกามยาว
เมืองพะเยาภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา
เมืองพะเยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
|
จังหวัดพะเยา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง
บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม "
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สภาพทั่วไป ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 735 กม. ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขา ที่ราบสูง มีระดับความสูงตั้งแต่ 300 – 1,550 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่่เป็นที่ราบ ลักษณะภูมิอากาศเนื่องจากมีป่าไม้และภูเขาล้อมรอบจึงทำให้อากาศหนาวมากในฤดูหนาวและอากาศไม่ร้อน จัดในฤดูร้อน มีเทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาผีปันน้ำ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำอิง แม่น้ำยม และแม่น้ำลาว
ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเขตระหว่าง
เส้นรุ้งที่ 18 องศา 44 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 44 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 40 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 40 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ | |||
ทิศเหนือ ติดเขต อ. พาน อ. ป่าแดด อ. เทิง จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ ติดเขต อ. งาว จ. ลำปาง และ อ. สอง จ. แพร่ ทิศตะวันออก ติดเขต แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ อ. ท่าวังผา อ. บ้านหลวง อ. สองแคว จ. น่าน ทิศตะวันตก ติดเขต อ. งาว อ. วังเหนือ จ. ลำปาง ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่นสบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออก เฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมือง อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง(บางส่วน) อ.เชียงคำ และ อ.แม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำหนิดของแม่น้ำยม เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ ดอยภูลังกา ดอยสันปันน้ำ ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่แฝก ดอยขุนแม่ต๋ำ ดอยขุนแม่ต๋อม | |||
| |||
การปกครอง ประกอบด้วย 9 อำเภอ คือ อ.เมืองพะเยา, อ.เชียงคำ, อ.เชียงม่วน, อ.ปง, อ.ดอกคำใต,้ อ.จุน, อ.แม่ใจ, อ.ภูซาง และ อ..ภูกามยาว แบ่งเป็น 68 ตำบล 805 หมู่บ้าน การปกครองท้องถิ่น - องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง - เทศบาลเมือง 1 แห่ง - เทศบาลตำบล 11 แห่ง - องค์การบริหารส่วนตำบล 59 แห่ง ประชากร จำนวนประชากร เดือนมิถุนายน ปี 2549 มีทั้งสิ้น 486,348 คน เป็นชาย 239,731 คน เป็นหญิง 246,617 คน จำนวนครัวเรือน 163,761 ครัวเรือน มีบนพื้นที่สูงอาศัยอยู่กระจัดกระจายตามบริเวณเทือกเขาสูง ได้แก่ เผ่าลื้อ เผ่าเย้า เผ่าแม้ว เผ่าลีซอ และเผ่าถิ่น จำนวน 45 หมู่บ้าน 2,658 ครัวเรือน โดยกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ เช่น อ.เมืองพะเยา อ.ปง อ.เชียงคำ อ.เชียงม่วน อ.แม่ใจ อ.ภูซาง และอ.ดอกคำใต้ | |||
| |||
| |||
การศึกษา ในปีการศึกษา 2549 จังหวัดพะเยา มีสถานศึกษา จำนวน 347 แห่ง มีนักเรียน/นักศึกษา รวมจำนวน 124,474 คน แยกเป็น ในระบบโรงเรียน 95,534 คน นอกระบบโรงเรียน 28,940 คน
การสาธารณสุข
ในปี 2549 จังหวัดพะเยา มีโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 8 แห่ง มีโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง มีเตียงคนไข้ จำนวน 808 เตียง (เฉลี่ยเตียงคนไข้ 1 เตียงต่อประชากร 584 คน) มีแพทย์ จำนวน 92 คน (เฉลี่ยแพทย์ 1 คนต่อประชากร 5,451 คน) มีทันตแพทย์ จำนวน 21 คน (เฉลี่ยทันตแพทย์ 1 คนต่อประชากร 23,881 คน) มีพยาบาล จำนวน 1,001 คน (เฉลี่ยพยาบาล 1 คนต่อประชากร 501 คน) มีสถานีอนามัย จำนวน 94 แห่ง มีคลินิคทุกประเภท จำนวน 60 แห่ง
การสารณูปโภค
ไฟฟ้า ในปี 2549 จังหวัดพะเยา มีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า 130,610 ราย ประปา ในปี 2549 จังหวัดพะเยา มีการประปาพะเยา-ดอกคำใต้ มีโรงกรองน้ำ จำนวน 2 แห่ง โดยใช้น้ำจากกว๊านพะเยา ปัจจุบันให้บริการ น้ำสะอาดแก่ชุมชนเมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้ มีการประปาจุน จำหน่ายน้ำ 3 เขต คือ อ.จุน อ.ปง อ.เชียงคำ มีกำลังการผลิตน้ำประปาทั้งสองแห่งประมาณ 7,708,800 ลูกบาศก์เมตร มีจำนวนผู้ใช้น้ำประปา ประมาณ 17,098 ราย
โทรศัพท์
ในปี 2549 จังหวัดพะเยา มีหายเลขโทรศัพท์ 37,215 หมายเลข เป็นของบริษัท ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) จำนวน 22,079 หมายเลข (มีผู้เช่า จำนวน 29,882 หมายเลข) เป็นของบริษัทสัมปทาน จำนวน 15,136 หมายเลข (มีผู้เช่า จำนวน 13,841 หมายเลข)
การคมนาคมขนส่ง
จังหวัดพะเยา ใช้เส้นทางคมานาคมทางบกเป็นหลัก โดยมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง กรุงเทพ ฯ และระหว่างอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
1. ระยะทางจากอำเภอเมืองพะเยา ถึง 2. ระยะทางจากจังหวัดพะเยา ถึง
2.ทางด้านไปรษณีย์ จังหวัดพะเยา มีที่ทำการไปรษณีย์รวม 8 แห่ง (ที่อำเภอเมืองพะเยามี 2 แห่งคือ ที่ทำการไปรษณีย์พะเยา และที่ทำการไปรษณีย์หนองระบู- อ.ดอกคำใต้ 15 กม. - จังหวัดเชียงราย 94 กม. - อ.จุน 48 กม. - จังหวัดเชียงใหม่ 134 กม. - อ.เชียงคำ 76 กม. - จังหวัดลำปาง 137 กม. - อ.เชียงม่วน 117 กม. - จังหวัดแพร่ 138 กม. - อ.ปง 79 กม. - อ.แม่ใจ 24 กม. - อ.ภูซาง 91 กม. - อ.ภูกามยาว 18 กม. |
เป็นสถานีประมงที่มีความสำคัญของภาคเหนือ มีการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดเพื่อจำหน่ายแจกจ่ายแก่ประชาชนเพื่อนำไปเป็นอาชีพ และเพื่อไปปล่อยยังแหล่งน้ำธรรมชาติ มีผลงานที่สำคัญของสถานีประมงน้ำจืดแห่งนี้คือ การผสมเทียมปลาบึกได้เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖
ภายในจึงมีการตั้งพิพิทธภัณฑ์ปลาบึกขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมและประชาชนทั่วไป สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยเสด็จมาประทับ ณ สถานีประมงแห่งนี้ เมื่อครั้งมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาในปีพ.ศ. ๒๕๑๔
ภายในสถานีประมงจึงมีพระตำหนักที่สมเด็จย่าเคยประทับและดูแลไว้เป็นอย่างดี พระตำหนักตั้งอยู่ไกล้พิพิทธภัณฑ์ปลาบึก เป็นเรือนไม้สองชั้น สภาพไกล้เคียงกับครั้งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จมาประทับ ข้าวของเครื่องใช้ยังมีสภาพเดิมทั้งสิ้น ที่ตั้งสถานีประมงน้ำจืดและพระตำหนัก จากสี่แยกประตูชัยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ลงไปทางทิศใต้ มุ่งหน้าไปทางสี่แยกแม่ต๋ำ ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๓ และทางเข้าวัดลีไปไม่ไกลก็ถึงทางเข้าสถานีประมงน้ำจืดพะเยาอยู่ทางซ้ายมือ
|