พะเยา108 มีโอกาสเดินทางมา “เวียงบัว” แหล่งโบราณคดีโบราณของจังหวัดพะเยา
ได้เยี่ยมชมเตาเผา เครื่องถ้วยชามเคลือบอายุมากกว่า 800 ปี ที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นมีลวดลายไม่เหมือนใครในโลก
เครื่องถ้วยชามที่พบจากเตาเผาเวียงบัว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีลวดลายที่เกิดจากการใช้แม่พิมพ์กดประทับเป็นรูปต่าง ๆ ทำลวดลายลงบริเวณกลางชามด้านในก่อนเคลือบทับ ลายที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาคู่ สิงห์ ช้าง นกยูงดวงอาทิตย์ ลายก้านขดและลายก้านขดผสมลายปลา ซึ่งเป็นลวดลายพิเศษที่ไม่เคยพบในเครื่องถ้วยชามของแหล่งเตาอื่น ๆ ในประเทศไทย
หรือต่างประเทศมาก่อน
ได้เยี่ยมชมเตาเผา เครื่องถ้วยชามเคลือบอายุมากกว่า 800 ปี ที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นมีลวดลายไม่เหมือนใครในโลก
เครื่องถ้วยชามที่พบจากเตาเผาเวียงบัว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีลวดลายที่เกิดจากการใช้แม่พิมพ์กดประทับเป็นรูปต่าง ๆ ทำลวดลายลงบริเวณกลางชามด้านในก่อนเคลือบทับ ลายที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาคู่ สิงห์ ช้าง นกยูงดวงอาทิตย์ ลายก้านขดและลายก้านขดผสมลายปลา ซึ่งเป็นลวดลายพิเศษที่ไม่เคยพบในเครื่องถ้วยชามของแหล่งเตาอื่น ๆ ในประเทศไทย
หรือต่างประเทศมาก่อน
ประวัติศาสตร์ด้านโบราณคดีซุกซ่อน อยู่ กระทั่งล่าสุดได้มีการค้นพบแหล่งเตาเผาโบราณบ้านเวียงบัว สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งเมื่อเทียบยุคสมัยอยู่ในยุคเดียวกับสมัยพญาเจื๋อง ขุนเจื๋อง ท้าวฮุ่ง กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ต้นราชวงศ์มังรายแห่งล้านนา
เดือนมีนาคม 2548 ได้มีการสำรวจขุดค้นเตาเวียงบัว 2 แห่ง ซึ่งพบเศษเครื่องถ้วยชามและร่องรอยโครงสร้างของเตา ผ.ศ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดีในฐานะผู้อำนวยการขุดค้น กล่าวถึงลักษณะของเตาเวียงบัวว่า เตาที่พบและได้สำรวจขุดค้นไปแล้วนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 เตา
ซึ่งพบอยู่ในบริเวณเนินดินใกล้กัน โดยพบว่าเป็นเตาแบบล้านนาชนิดเตาห้องเดี่ยว อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์โดยฝังอยู่ในเนินดิน ขนาดยาว 5 เมตรกว้าง 2 เมตร นอกจากนั้นยังพบอีกว่ามีการนำดินลักษณะคล้ายปูนสีขาวเนื้อละเอียด มีส่วนประกอบเป็นเม็ดดินแข็ง ๆ คล้ายแมงกานีส มาถมบริเวณหลังคาและรอบ ๆ ปล่อยเตา ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐานโครงสร้างของเตาที่ไม่เคยพบเห็นจากที่ไหนมาก่อนที่แผ่อิทธิพลอยู่ในอาณาจักรเงินยาง (พะเยา – เชียงราย)
เดือนมีนาคม 2548 ได้มีการสำรวจขุดค้นเตาเวียงบัว 2 แห่ง ซึ่งพบเศษเครื่องถ้วยชามและร่องรอยโครงสร้างของเตา ผ.ศ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดีในฐานะผู้อำนวยการขุดค้น กล่าวถึงลักษณะของเตาเวียงบัวว่า เตาที่พบและได้สำรวจขุดค้นไปแล้วนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 เตา
ซึ่งพบอยู่ในบริเวณเนินดินใกล้กัน โดยพบว่าเป็นเตาแบบล้านนาชนิดเตาห้องเดี่ยว อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์โดยฝังอยู่ในเนินดิน ขนาดยาว 5 เมตรกว้าง 2 เมตร นอกจากนั้นยังพบอีกว่ามีการนำดินลักษณะคล้ายปูนสีขาวเนื้อละเอียด มีส่วนประกอบเป็นเม็ดดินแข็ง ๆ คล้ายแมงกานีส มาถมบริเวณหลังคาและรอบ ๆ ปล่อยเตา ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐานโครงสร้างของเตาที่ไม่เคยพบเห็นจากที่ไหนมาก่อนที่แผ่อิทธิพลอยู่ในอาณาจักรเงินยาง (พะเยา – เชียงราย)
ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วยที่พบมีทั้งชาม จาน และถ้วยในกลุ่มที่เรียกว่า “ชามตะไล” รูปทรงของจานและชามปากกว้าง มีขอบฐานเตี้ย ๆด้านในมีสันขอบปากม้วนกลมลักษณะเดียวกับชามที่เรียกว่า “ชามมอญ” ที่พบในแหล่งเตาเชลียงที่เมืองศรีสัชนาลัย จากหลักฐานสามารถยืนยันได้ว่าการผลิตเครื่องถ้วยชามในแหล่งเตาเผาเวียงบัวคง มีการเผา 2 ครั้ง โดยการเผาครั้งแรกทำการเผาบิสกิต คือ เอาถ้วยชามที่ปั้นตากแห้งมาทาน้ำดินสีขาว ทำลวดลายแล้วเอาเข้าเผา เมื่อสุกแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เนื้อดินไม่แกร่งมาก มีสีแดง จากนั้นจึงคัดเอาใบที่มีสภาพดีไปชุบน้ำเคลือบสีเฉพาะด้านในและ
เช็ดปาดน้ำ เคลือบที่ขอบปากออกแล้วนำไปเผาอีกรอบ คราวนี้จะได้ผลิตภัณฑ์เคลือบเนื้อแกร่งมาก ซึ่งจากการขุดค้นบริเวณเตาเก๊ามะเฟืองในที่ดินของพ่จันทร์ เฉพาะธรรม พบเครื่องถ้วยชามที่เสียหายบิดเบี้ยวและแตกหักถูกทิ้งเป็นกองขนาดใหญ่กิน บริเวณกว้าง ทางคณะสำรวจและชาวบ้านจึงได้คงสภาพเศษถ้วยชามไว้ในตำแหน่งที่พบ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
เช็ดปาดน้ำ เคลือบที่ขอบปากออกแล้วนำไปเผาอีกรอบ คราวนี้จะได้ผลิตภัณฑ์เคลือบเนื้อแกร่งมาก ซึ่งจากการขุดค้นบริเวณเตาเก๊ามะเฟืองในที่ดินของพ่จันทร์ เฉพาะธรรม พบเครื่องถ้วยชามที่เสียหายบิดเบี้ยวและแตกหักถูกทิ้งเป็นกองขนาดใหญ่กิน บริเวณกว้าง ทางคณะสำรวจและชาวบ้านจึงได้คงสภาพเศษถ้วยชามไว้ในตำแหน่งที่พบ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
เครื่องถ้วยชามที่พบจากเตาเผาเวียงบัว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีลวดลายที่เกิดจากการใช้แม่พิมพ์กดประทับเป็นรูปต่าง ๆ ทำลวดลายลงบริเวณกลางชามด้านในก่อนเคลือบทับ ลายที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาคู่ สิงห์ ช้าง นกยูง ดวงอาทิตย์ ลายก้านขดและลายก้านขดผสมลายปลา ซึ่งเป็นลวดลายพิเศษที่ไม่เคยพบในเครื่องถ้วยชามของแหล่งเตาอื่น ๆ ในประเทศไทยหรือต่างประเทศมาก่อน
แม้ว่าเครื่องถ้วยในกลุ่ม “ชามตะไล” ที่พบจากแหล่งเตาเวียงบัวจะเหมือนกับเครื่องถ้วยในกลุ่ม “ชามมอญ” ของแหล่งเตาเชลียงศรีสัชนาลัย และแหล่งเตาสันกำแพงเชียงใหม่ และอาจมีส่วนคล้ายคลึงกับชามของแหล่งเตาบ่อสวกเมืองน่าน แต่เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเวียงบัว มีลวดลายกดประทับจากตรามีแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลวดลายดังกล่าวสันนิษฐานว่าสื่อให้เห็นความรู้ที่ลึกซึ้งในเชิงปรัชญาเกี่ยว กับจักรวาลและธรรมชาติของช่างในสมัยนั้น ที่สำคัญยังไม่พบร่องรอยที่ชัดเจนเกี่ยวกับพุทธศาสนาปรากฏอยู่ในเครื่องถ้วย เหล่านั้น ชวนให้เชื่อได้ว่าแหล่งเตาเวียงบัวที่ขุดค้น มีมาก่อนที่เมืองรอบกว๊านพะเยาจะรับนับถือพุทธศาสนา เป็นแหล่งเตาที่มีอายุมากกว่า 800 ปี และเชื่อว่าน่าจะมีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับแหล่งเตาเชลียงเมืองศรีสัชนาลัย และอาจจะเก่าก่อนแหล่งเตาที่เมืองน่าน ก่อนแหล่งเตาเวียงกาหลง ก่อนแหล่งเตาสันกำแพงและแหล่งเตาอื่น ๆ ในล้านนาอย่างไรก็ตาม การค้นพบแหล่งโบราณคดีเตาเผาเวียงบัว จ.พะเยา น่าจะเป็นกระตุ้นความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาศึกษาค้นคว้าใน แง่ของประวัติศาสตร์และเที่ยวชมแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ จนกระทั่งพัฒนากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพะเยาก็เป็น ได้
( ขอบคุณข้อมูลจาก : จักรพงษ์ คำบุญเรือhttp://www.lannacorner.net/lanna2008/ )
แม้ว่าเครื่องถ้วยในกลุ่ม “ชามตะไล” ที่พบจากแหล่งเตาเวียงบัวจะเหมือนกับเครื่องถ้วยในกลุ่ม “ชามมอญ” ของแหล่งเตาเชลียงศรีสัชนาลัย และแหล่งเตาสันกำแพงเชียงใหม่ และอาจมีส่วนคล้ายคลึงกับชามของแหล่งเตาบ่อสวกเมืองน่าน แต่เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเวียงบัว มีลวดลายกดประทับจากตรามีแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลวดลายดังกล่าวสันนิษฐานว่าสื่อให้เห็นความรู้ที่ลึกซึ้งในเชิงปรัชญาเกี่ยว กับจักรวาลและธรรมชาติของช่างในสมัยนั้น ที่สำคัญยังไม่พบร่องรอยที่ชัดเจนเกี่ยวกับพุทธศาสนาปรากฏอยู่ในเครื่องถ้วย เหล่านั้น ชวนให้เชื่อได้ว่าแหล่งเตาเวียงบัวที่ขุดค้น มีมาก่อนที่เมืองรอบกว๊านพะเยาจะรับนับถือพุทธศาสนา เป็นแหล่งเตาที่มีอายุมากกว่า 800 ปี และเชื่อว่าน่าจะมีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับแหล่งเตาเชลียงเมืองศรีสัชนาลัย และอาจจะเก่าก่อนแหล่งเตาที่เมืองน่าน ก่อนแหล่งเตาเวียงกาหลง ก่อนแหล่งเตาสันกำแพงและแหล่งเตาอื่น ๆ ในล้านนาอย่างไรก็ตาม การค้นพบแหล่งโบราณคดีเตาเผาเวียงบัว จ.พะเยา น่าจะเป็นกระตุ้นความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาศึกษาค้นคว้าใน แง่ของประวัติศาสตร์และเที่ยวชมแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ จนกระทั่งพัฒนากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพะเยาก็เป็น ได้
( ขอบคุณข้อมูลจาก : จักรพงษ์ คำบุญเรือhttp://www.lannacorner.net/lanna2008/ )
จากการที่พะเยา108 ได้พูดคุยสอบถาม แม่แพและแม่จันทร์ เฉพาะธรรม ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ได้ขุดค้นพบเตาเผ่าและเครื่องถ้วยชามเวียงบัวท่านได้บอกว่าในเวียงบัวมีแหล่งเตาโบราณประมาณ 30 กว่าจุด แต่ไม่ได้มีการขุดค้นเพื่อศึกษาอย่างจริงจัง ทำให้ผมได้นึกย้อนไปถึงครั้งหนึ่งผมเคยมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานและอบรมความรู้เกี่ยวกับศิลปะที่ เวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งก็เป็นแหล่งเตาเผาโบราณมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ได้รับการสนับสนุน ศึกษา พัฒนาอย่างจริงจังจากภาครัฐและเอกชน จนทำให้ส่วนหนึ่งเกิดการนำเอาเอกลักษณ์ของเครื่องเคลือบเวียงกาหลงมาทำใหม่เลียนแบบของเก่าที่มีอยู่เดิม พัฒนาต่อยอด จนกลายเป็นงานอุตสาหกรรมในครัวเรือน ชุมชนเกิดอาชีพ ชาวบ้านมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยว และที่สำคัญทำให้เครื่องเคลือบเวียงกาหลงได้ฟื้นตื่นจากการหลับไหลทำให้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกได้รู้จักเครื่องเคลือบเวียงกาหลง
ซึ่งผมเองหวังอยากจะให้เครื่องเคลือบเวียงบัวได้ฟื้นตื่นจากการหลับไหลเช่นเดียวกัน
ซึ่งผมเองหวังอยากจะให้เครื่องเคลือบเวียงบัวได้ฟื้นตื่นจากการหลับไหลเช่นเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น