วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กลุ่มชาติพันธุ์

วิถีชีวิต
กลุ่มชาติพันธุ์

ไทลื้อ

ไทลื้อ
ความเป็นมา



ไทลื้อเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท อาศัยอยู่ในสิบสองปันนาทางตอนใต้ของ จีน บางส่วนอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของลาว และ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉานในพม่า จากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ชาว ไทลื้อมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชาวล้าน นาในอดีต บางส่วนได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ในหัวเมืองล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ต่อมาได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหัวเมือง ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ตามนโยบาย "เก็บผักใส่ ซ้า เก็บข้าใส่เมืองของเจ้าผู้ครองนคร ล้านนาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีชาว ไทลื้อ อพยพเข้ามาเพิ่มเติมภายหลัง เพื่อติด ตามญาติพี่น้อง และเหตุผลทางการเมือง ดัง นั้นในปัจจุบัน จึงมีชุมชนชาวไทลื้อกระจาย กันอยู่ในจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือตอนบน ได้ แก่เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่
ไทลื้อ



วิถีชีวิต
ไทลื้อมีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ที่ใกล้เคียงกับชาวไทยล้านนา แต่ก็มี ลักษณะบางประการ ที่เป็นเอกลักษณ์เดิมของกลุ่มชาติ พันธุ์ เช่นประเพณี พิธีกรรม ภาษา และศิลปะการทอผ้า
การปรับปรนในสังคมปัจจุบัน 
ไทลื้อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดพะเยา ได้กระจายอยู่ใน อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน ถึงแม้จะได้พัฒนาความเป็นอยู่คล้ายกับชาว ไทยล้านนาโดยทั่วไป แต่ชาวไทลื้อก็ ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรร











เย้า

เย้า
ความเป็นมา



เย้าเป็นชนชาติเก่าพอ ๆ กับพวกแม้วและโล ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศ จีน แต่การทำมาหากินฝืดเคืองและถู กรบกวน จึงอพยพ ไปอยู่เวียดนาม ลาว พม่า และ ไทย เย้าที่อพยพมาอยู่ในประเทศไทย มาจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพพม่า เมื่อ ประมาณ 50 60 ปี ที่ผ่านมาต่างแยกไป อยู่ตามภูเขาต่าง ๆ ใน เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง ในจังหวัดพะเยามีชาวเย้าอยู่มากที่ สุด ที่ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง บนภูลังกา ประมาณ 7,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเย้าเกือบ ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีตามภูเขาใน อำเภอเมือง อำเภอแม่ใจ และอำเภอเชียงคำ 
เย้านิยมตั้งหมู่บ้านอยู่บนไหล่เขา บริเวณต้นน้ำ ลำธาร ลักษณะบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูก บ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน มุงหลัง คาด้วยหญ้าคา และใบหวาย
รูปร่างลักษณะ 
รูปร่างลักษณะและผิวพรรณคล้ายชาวจีน ผู้หญิง เย้ามีรูปร่างหน้าตาค่อนข้างสวย
การแต่งกาย 
ผู้หญิงเย้ามักจะทาผมด้วยขี้ผึ้ง แล้วพันด้วยผ้าสีแดงหรือสีน้ำเงินปน ดำ ผู้ชายนุ่งกางเกงแบบกางเกงจีน เสื้อยาวคลุม เอว ปัจจุบันการแต่งกายคล้ายคลึงกับคนไทยมากขึ้น แต่ผู้หญิงยังคงรักษาสภาพเดิม
การปกครอง 
เย้าไม่มีหัวหน้าเผ่า หรือหัวหน้า ใหญ่ที่มีอำนาจปกครอง มีแต่หัวหน้าที่ ได้รับการคัดเลือกจากผู้อาวุโส หรือทางราช การแต่งตั้งให้ ที่ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยาก็เช่นกัน ตำแหน่งผู้นำของพวกเย้า ตกทอดสืบต่อจากบิดา คือปู่ซึ่งนำเย้า เข้ามาเมืองไทยเป็นกลุ่มแรก ต่อมาลูกชาย ได้รับตำแหน่งกำนันโดยทางราชการแต่งตั้งให้ เมื่อเกิดคดีในหมู่บ้าน พวกเย้ามักตัดสิน ความกันเอง นอกจากคดีอุกฉกรรจ์ จึงจะไป แจ้งเจ้าหน้าที่อำเภอ พวกเย้ามักถือภาษิตที่ ว่าชาวเย้าจะไม่ฆ่ากัน และหลักในการ ตัดสินที่สำคัญของชาวเย้าก็คือ ฝ่ายจำเลย ต้องชดใช้ค่าเสียหาย โดยจ่ายเป็นเงินหรือ เงินแท่ง สุดแต่ญาติของผู้ตาย จะเรียกร้อง ให้ชดใช้
ภาษา 
ภาษาเย้ามีแต่ภาษาพูด เป็นคำโดด ๆ มีเสียงสูงต่ำ ไม่มีภาษา เขียน
การประกอบอาชีพ 
เย้าเป็นชาวไร่ที่ขยัน ขันแข็ง มีความสามารถในการเลี้ยงชีพสูง ทำการ เกษตรแบบไร่เลื่อนลอย พืชหลักปลูกกันมาก ได้ แก่ ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง นอกจากนี้ยังเลี้ยง สัตว์ เช่น ม้า หมูและไก่
ระบบครอบครัว 
เย้ามีทั้งครอบครัวเดียว และครอบครัวขยาย ในทัศนะ ของชาวเย้า คำว่าญาติพี่น้อง นอกจากจะ หมายถึงญาติพี่น้องโดยสายโลหิตแล้ว ยังหมาย ถึงชนชาติอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ในชุม ชนของชาวเย้าหญิงชายชาวเย้ามีอิสระเสรี ในการเลือกคู่ครอง โดยใช้ความรักและความ เหมาะสมเป็นหลักใหญ่ ไม่มีการบังคับอย่างใด แต่เดิมผู้ชายเย้ามักเลือกผู้หญิง ที่ขยัน ในการทำงาน โดยไม่คำนึงถึงความสวยงาม ฝ่าย หญิงก็นิยมเลือกชายที่ขยัน ไม่สูบฝิ่น แต่ ปัจจุบันความคิดดังกล่าวค่อย ๆ เปลี่ยนไป เพราะชาว เย้าเริ่มหันมาสนใจความสวยงามกันมาก เนื่องจากความอิสระในการเลือกคู่ครองของชาว เย้าเอง จึงเกิดประเพณีการเที่ยวสาวขึ้นและยัง ถือปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้
การปรับปรนในสังคมปัจจุบัน 
ปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวเย้าเปลี่ยนไป เนื่องจากความเจริญทางวัตถุ เช่น ไฟฟ้า ประปมี การตัดถนนไปถึงหมู่บ้านของชาวเย้า ผู้ ปกครองนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือในตัว เมือง และมีการทำการเกษตรที่ทันสมัย ทำ ให้เศรษฐกิจของชาวเย้าดีขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น