วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

@ จังหวัดพะเยา










วิดีโอแนะนำ

ประวัติเมืองพะเยา


เพลงประจำจังหวัด





ประวัติความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญ


เมืองภูกามยาว
          พะเยา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เดิมมีชื่อว่า เมืองภูกามยาว หรือ พยาว มีเอกราชสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันติวงศ์มา ปรากฎตามตำนานเมืองพะเยา กษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองภูกามยาว มีดังนี้
ขุนจอมธรรม
             ขุนจอมธรรม เป็นพระราชโอรสของขุนเงินหรือลาวเงิน กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน เมื่อ พุทธศักราช 1602 (จุลศักราช 421) พ่อขุนเงินหรือลาวเงิน ดำริให้พระราชโอรส 2 องค์ คือ ขุนชิน ให้อยู่ในราชสำนักครองนครเงินยางเชียงแสน และ ขุนจอมธรรม โอรสองค์ที่ 2ให้ปกครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้
             ขุนจอมธรรมพร้อมข้าราชการบริวาร ขนเอาพระราชทรัพย์ บรรทุกม้า พร้อมพลช้าง พลม้า ตามเสด็จถึงเมืองภูกามยาว และตั้งรากฐานเมืองใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเมืองหนึ่ง นามว่า “สีหราช” อยู่เชิงเขาชมภูหางดอยด้วน ลงไปจรดฝั่งแม่น้ำสายตา มีสัณฐานคล้ายลูกน้ำเต้า มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางตะวันตก (อันหมายถึงกว๊านพะเยาในปัจจุบัน) และทางทิศอีสาน คือ หนองหวีและหนองแว่น

ต่อมารวมไพร่พลหัวเมืองต่าง ๆ ได้ 80,000 คน จัดแบ่งได้ 36 พันนา นาละ 500 คน มีเขตแคว้นแดนเมืองในครั้งกระโน้น ดังนี้
             ทิศบูรพา จรดขุนผากาดจำบอน ตาดม้าน บางสีถ้ำ ไทรสามต้น สบห้วยปู น้ำพุง สบปั๋ง ห้วยบ่อทอง ตาดซาววา กิ่วแก้ว กิ่วสามช่อง มีหลักหินสามก้อนฝังไว้ กิ่วฤาษี แม่น้ำสายตา กิ่วช้าง กิ่วง้ม กิ่วเปี้ย ดอยปางแม่นา
             ทิศตะวันตก จรดโป่งปูดห้วยแก้วดอยปุย แม่คาว ไปทางทิศใต้ กิ่วรุหลาว ดอกจิกจ้อง ขุนถ้ำ ดอยตั่ง ดอยหนอก ผาดอกวัว แซ่ม่าน ไปจรดเอาดอยผาหลักไก่ทางทิศหรดี
             ทิศใต้สุดจรดนครเขลางค์และนครหริภุญชัย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต่อแดนขรนคร (เชียงของ)
             มีเมืองในอำนาจปกครอง คือ เมืองงาว เมืองกาว สะเอียบ เชียงม่วน เมืองเทิง เมืองสระ เมืองออย สะสาว เมืองดอบ เชียงคำ เมืองลอ เมืองเชียงแลง เมืองหงาว แซ่เหียง แซ่ลุล ปากบ่อง เมืองป่าเป้า เมืองวัง แซ่ซ้อง เมืองปราบ แซ่ห่ม
             ขุนจอมธรรมปกครองไพร่ฟ้าประชาชน โดยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคสมบัติ ฟ้าฝนตกตามฤดูกาล ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน ซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน ไม่มีสงคราม เจ้าประเทศราชต่าง ๆ มีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ทรงสั่งสอนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยหลักธรรม 2 ประการ คือ อปริหานิยธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม 1 ประเพณีธรรมขนบธรรมเนียมอันเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงานของครอบครัว 1
             ขุนจอมธรรมครองเมืองพะเยาได้ 2 ปี มีโอรส 1 พระองค์ โหรถวายคำพยากรณ์ว่า ราชบุตรองค์นี้จะเป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป มีบุญญาธิการมากเวลาประสูติ มีของทิพย์เกิดขึ้น 3 อย่าง คือ แส้ทิพย์ พระแสงทิพย์ คณโฑทิพย์ จึงให้พระนามว่า “ขุนเจื๋อง” ต่อมาอีก 3 ปี ได้ราชบุตรอีกพระนามว่า “ขุนจอง” หรือ “ชิง”
             ขุนจอมธรรมปกครองเมืองพะเยาได้ 24 ปี พระชนมายุได้ 49 พรรษา
พระยาเจื๋องธรรมมิกราช หรือ ขุนเจื๋อง
             พระยาเจื๋องธรรมมิกราช หรือ ขุนเจื๋อง ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช 1641 เป็นโอรสของขุนจอมธรรม เมื่อเจริญวัยขึ้น ทรงศึกษาวิชายุทธศาสตร์ เช่น วิชาดาบ มวยปล้ำ เพลงชัย จับช้าง จับม้า และเพลงอาวุธต่าง ๆ เมื่อพระชนมายุได้ 16 ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน เห็นความสามารถแล้วพอพระทัย ยกธิดาชื่อ “จันทร์เทวี” ให้เป็นชายาขุนเจื๋อง พระชนมายุได้ 17 ปี พาบริวารไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่พอพระทัย จึงยกธิดาชื่อ “นางแก้วกษัตริย์” ให้เป็นชายา พระราชทานช้าง 200 เชือก
             ขุนเจื๋องครองราชย์สืบแทนขุนจอมธรรมเมื่อพระชนมายุ 24 ปี ครองเมืองได้ 6 ปี มีข้าศึกแกว (ญวน) ยกทัพมาประชิดนครเงินยางเชียงแสน ขุนชินผู้เป็นลุง ได้ส่งสาส์นขอให้ส่งไพร่พลไปช่วย ขุนเจื๋องได้รวบรวบรี้พลยกไปชุมนุมกันที่สนามดอนไชยหนองหลวง และเคลื่อนทัพเข้าตีข้าศึกแตกกระจัดกระจายไป เมื่อขุนชินทราบเรื่องก็เลื่อมใสโสมนัสยิ่งนัก ทรงยกธิดาชื่อ “พระนางอั๊วคำคอน” ให้และสละราชสมบัตินครเงินยางเชียงแสนให้ขุนเจื๋องครองแทน เมื่อขุนเจื๋องได้ครองราชเมืองเงินยางแล้ว ทรงพระนามว่า “พระยาเจื๋องธรรมมิกราช” ได้มอบสมบัติให้โอรสชื่อ“ลาวเงินเรือง” ครองเมืองพะเยาแทน หัวเมืองใหญ่น้อยเหนือใต้ยอมอ่อนน้อม ได้ราชธิดาแกวมาเป็นชายานามว่า “นางอู่แก้ว”
             ขุนเจื๋องมีโอรส 3 พระองค์คือ ท้าวผาเรือง ท้าวคำห้าว และท้าวสามชุมแสง ต่อมายกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวผาเรือง ให้ท้าวคำห้าวไปครองเมืองล้านช้าง ท้าวสามชุมแสงไปครองเมืองน่าน ต่อมาได้โยธาทัพเข้าตีเมืองต่างๆ ที่ยังไม่ยอมสวามิภักดิ์ ทรงชนช้างกับศัตรูเสียทีข้าศึกเพราะชราภาพ จึงถูกฟันคอขาดและสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พวกทหารจึงนำพระเศียรไปบรรจุไว้ที่พระเจดีย์เมืองเหรัญนครเชียงแสน
             ขุนเจื๋องครองราชย์สมบัติครองแคว้นล้านนาไทยได้ 24 ปี ครองเมืองแกวได้ 17 ปี รวมพระชนมายุ 67 ปี             ฝ่ายท้าวจอมผาเรืองราชบุตรขึ้นครองราชสมบัติเมืองพะเยาได้ 14 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย ขุนแพงโอรสครองราชย์ แทนได้ 7 ปี ขุนซอง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า แย่งราชสมบัติ และได้ครองราชย์เมืองพะเยาต่อมาเป็นเวลา 20 ปี และมีผู้ขึ้นครองราชสืบต่อมา
พ่อขุนงำเมือง
             พ่อขุนงำเมือง เป็นกษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่ 9 นับจากพ่อขุนจอมธรรม ประสูติเมื่อพุทธศักราช 1781 เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง สืบเชื้อสายมาจากท้าวจอมผาเรือง เมื่อพระชนมายุ 14 ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาเล่าเรียนศิลปะศาสตร์เทพในสำนักเทพอิสิตนอยู่ภูเขาดอยด้วน 2 ปี จึงจบการศึกษา เมื่อพระชนมายุได้ 16 ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อ ขอถวายตัวอยู่ในสำนักสุกันตฤาษี ณ กรุงละโว้ (ลพบุรี) จึงได้รู้จักคุ้นเคยกับ พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย สนิทสนมผูกไมตรีต่อกันอย่างแน่นแฟ้น ศึกษาศิลปศาสตร์ร่วมครูอาจารย์เดียวกันเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา ทรงเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์เช่นเดียวกับพระร่วงเจ้า เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยา ปีพุทธศักราช 1310 พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ จึงครองราชย์สืบแทน
             ตำนานกล่าวถึงพ่อขุนงำเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า ทรงเป็นศรัทธาเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนา ไม่ชอบสงคราม ปกครองบ้านเมืองด้วยความเที่ยงธรรม ผูกไมตรีจิตต่อประเทศราช และเพื่อนบ้าน ขุนเม็งรายเคยคิดยกทัพเข้าบดขยี้เมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองล่วงรู้เหตุการณ์ ก่อนแทนที่จะยกทัพเข้าต่อต้าน ได้สั่งไพร่พลให้อยู่ในความสงบ สั่งให้เสนาอำมาตย์ออกต้อนรับโดยดี เชิญขุนเม็งรายเสวยพระกระยาหารและเลี้ยงกองทัพให้อิ่ม ขุนเม็งรายจึงเลิกการทำสงคราม แต่นั้นมา พ่อขุนงำเมือง จึงยกเมืองปลายแดน ซึ่งมีเมืองพาน เมืองเชี่ยงเคี่ยน เมืองเทิง และเมืองเชียงของ ให้แก่พระเจ้าเม็งราย และทำสัญญาปฏิญาณต่อกันจะเป็นมิตรต่อกันตลอดไป

             ฝ่ายพระยาร่วงซึ่งเป็นสหายคนสนิทก็ได้ถือโอกาสเยี่ยมพ่อขุนงำเมืองปีละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่เสด็จในฤดูเทศกาลสงกรานต์ ได้มีโอกาสรู้จักขุนเม็งรายทั้ง 3 องค์ ได้ชอบพอเป็นสหายกัน เคยหันหลังเข้า พิงกันกระทำสัจจปฏิญาณแก่กัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำขุนภู ว่าจะไม่ผูกเวรแก่กัน จะเป็นมิตรสหายกัน กรีดโลหิตออกรวมกันขันผสมน้ำ ทรงดื่มพร้อมกัน (ภายหลังแม่น้ำนี้ได้ชื่อว่า แม่น้ำอิง)
             พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอุปฐากพระธาตุจอมทองซึ่งตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพะเยา ที่ประชาชนสักการะบูชามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
             พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนมเมื่อปีพุทธศักราช 1816 โอรส คือ ขุนคำแดง สืบราชสมบัติแทน ขุนคำแดงมีโอรสชื่อ ขุนคำลือ ซึ่งครองราชสมบัติแทนต่อมา
            เมืองพะเยาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นล้านนาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 (หลัง พ.ศ. 1800 ) ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพระยาคำฤาบุตรพระยาคำแดง (สุวรรณสามราช) เป็นเจ้าเมืองครองเมืองพะเยาเป็นลำดับที่ 14 ตั้งแต่ขุนจอมธรรมเป็นต้นมา และเป็นลำดับที่ 3 ตั้งแต่พญางำเมืองมา พญาคำฟูแห่งเมืองเชียงแสน คบคิดกับเจ้าเมืองน่านทำศึกขนาบเมืองพะเยา เข้าสมทบกองทัพกันไปรบเมืองพะเยา ครั้งนั้นกองทัพพระยาคำฟูเข้าเมืองพะเยาได้ก่อน ได้ผู้คนช้างม้าและทรัพย์สิ่งของ เป็นอันมาก ก็มิได้แบ่งปันให้พระยากาวน่าน พระยากาวน่านขัดใจจึงยกกองทัพเข้ารบกับพระยาคำฟู พระยาคำฟูเสียที ล่าทัพหนีกลับมาเมืองเชียงแสน กองทัพน่านยกเลยไปตีปล้นเอาเมืองฝางได้ พระยาคำฟูก็ยกกองทัพใหญ่ไปตีกองทัพน่านยังเมืองฝาง กองทัพเมืองน่านสู้กำลังไม่ได้ก็เลิกถอยกลับไปเมืองน่าน พระยาคำฟูก็เลิกทัพกลับมาเมืองเชียงแสน นับแต่นั้นมา เมืองพะเยาก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา แล้วถูกลดฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่กับเมืองเชียงราย
เมืองพะเยาภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา
          ตำนานที่กล่าวถึงเมืองพะเยา มีปรากฏในยุคของกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรล้านนา มีดังนี้
พระเจ้าติโลกราช
             พระเจ้าติโลกราช ครองอาณาจักรล้านนา ในช่วงพุทธศักราช 1985 - 2030 มีการทำสงครามขยายพระเดชานุภาพนับได้หลายครั้งตลอดรัชสมัย ทรงตีเมืองฝาง เมืองน่าน เมืองยอง ไทลื้อ เมืองหลวงพระบาง เมืองของหลวง เมืองของน้อย เมืองเชียงรุ่ง (ปัจจุบัน คือ แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) เมืองลอง เมืองตุ่น เมืองแช่ เมืองอิง เมืองนาย ไลค่า ล๊อกจ๊อก เชียงทอง เมืองปั่น หนองบอน ยองห้วย เมืองสู่ เมืองจีด เมืองจาง เมืองกิง จำคา เมืองพุย สีป้อ เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และมีเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มาสวามิภักดิ์ อาทิ เมืองเชลียง เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีอาณาเขตกว้างขวาง โดยทิศเหนือจรดเมืองเชียงรุ้ง (เชอหลี่ใหญ่หรือจิ่งหง )สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ภาคใต้ของประเทศจีน และเมืองเชียงตุง(เชอหลี่น้อยหรือเขมรัฐ) ทิศตะวันตกจรดรัฐฉาน ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน ติดพรมแดนมู่ปางหรือแสนหวี คือเมืองสีป้อ เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเชียงทอง รวมกว่า 11 เมือง ทางทิศตะวันออกจรดล้านช้าง ประเทศลาว ทิศใต้จรด ตาก เชลียง (ศรีสัชนาลัย) เชียงชื่น (สวรรคโลก)
             พระเจ้าติโลกราชทรงปกครองอาณาจักรล้านนาเป็นระยะเวลา 46 ปี บ้านเมืองมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระสงฆ์แตกฉานภาษาบาลี มีการตรวจชำระพระไตรปิฎกหรือสังคายนา เป็นครั้งที่ 8 ของโลก ณ วัดเจ็ดยอด อ.เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2020
พระยายุธิษฐิระ
             พระยายุธิษฐิระ หรือ พระยาสองแควเก่า เป็นพระโอรสของ พระมหาธรรมราชาที่ 4 (พระบรมปาล) แห่งแคว้นสุโขทัย ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 4 เมืองสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอย่างสมบูรณ์
             เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) กษัตริย์อยุธยาเสด็จสวรรคต พระราเมศวรพระราชโอรส ขณะนั้นทรงเป็นเจ้าเมืองสองแควอยู่ (ขณะนั้นเมืองสองแควมีความสำคัญรองจากอยุธยาในฐานะเป็นเมืองลูกหลวง) เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา แล้วเถลิงพระนามเป็น "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ" และให้พระยายุธิษฐิระเป็นเจ้าเมืองสองแควแทน ตามหลักฐานในตำนานสิบห้าราชวงศ์เชียงใหม่และพงศาวดารโยนกได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า ก่อนที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสัญญาไว้กับพระยายุธิษฐิระว่า ถ้าพระองค์ได้เป็นกษัตริย์อยุธยาแล้ว จะทรงแต่งตั้งให้พระยายุธิษฐิระ ผู้เป็นพระญาติทางฝ่ายมารดา เป็นอุปราชครองแคว้นสุโขทัยทั้งหมด แต่เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว หาได้ทรงกระทำตามสัญญาไม่ กลับโปรดฯ ให้พระยายุธิษฐิระเป็นเพียงแค่เจ้าเมืองสองแควเท่านั้น นอกจากนั้น พระองค์ทรงจัดให้มีการปฏิรูปการปกครองโดยลด ความสำคัญในฐานะเมืองลูกหลวงของเมืองสองแควลง พร้อมยกเลิกประเพณีการแต่งตั้งเจ้านายหรือพระญาติให้มาปกครองเมืองสำคัญ ทำให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์สุโขทัยสูญเสียอำนาจและถูกลดบทบาทลง พระยายุธิษฐิระในฐานะเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ไม่พอพระทัย จึงเกิดความขัดแย้งรุนแรงกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในที่สุดพระยายุธิษฐิระตัดสินพระทัยหันไปสวามิภักดิ์กับพระเจ้าติโลกราช และช่วยพระเจ้าติโลกราชทำสงครามรบกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเพื่อชิงดินแดนสุโขทัยกลับคืนจากอยุธยา สงครามยืดเยื้อถึง 7 ปีจึงสงบลง กองทัพล้านนาของพระเจ้าติโลกราชสามารถยึดครองเมืองสำคัญของสุโขทัยได้ครึ่งหนึ่ง เช่น เมืองทุ่งยั้ง เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย ส่วนอยุธยาได้เมืองสองแคว เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัย เมืองนครไทย
             พระยายุธิษฐิระทรงได้รับปูนบำเน็จจากพระเจ้าติโลกราชโปรดชุบเลี้ยง ในตำแหน่งพระโอรสบุญธรรม ให้ครองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย รวมถึงพะเยาซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายอาคเนย์ ซึ่งรวมอาณาบริเวณเมืองพร้าว เมืองงาว และกาวน่าน การที่พระเจ้าติโลกราชทรงมอบ เมืองพะเยาและกาวน่าน ให้พระยายุทธิษฐิระ ปกครองนั้น อันเนื่องมาจาก กลุ่มหัวเมืองอาคเนย์นี้เป็นหัวเมืองที่ได้มาใหม่ เจ้าเมืองกาวน่านเดิมมีเชื้อสายพระร่วงเจ้าทางราชนิกูล ส่วนทางเมืองพะเยา ก็ให้ความเคารพพระร่วงเจ้าสุโขทัยมาแต่ครั้งพ่อขุนงำเมืองนั่นเอง ต่อมาเมื่อเสียสุโขทัยและศรีสัชนาลัยแก่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระยายุทธิษฐิระได้รับโปรดฯให้ไปเป็นเจ้าสี่หมื่นครองเมืองพะเยา และหัวเมืองอาคเนย์
             พระยายุธิษฐิระ ทรงทรงทำนุบำรุงเมืองพะเยาเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ทรงสร้างเวียงใหม่ ที่บ้านพองเต่า สร้างวัดป่าแดงหลวง (ปัจจุบัน ราชการได้ประกาศรวมกับวัดดอนไชยบุนนาค ที่อยู่ติดกันเป็นวัดเดียวกัน ชื่อว่า วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค) ทรงหล่อพระพุทธรูปหลวงพ่อนาค รวมถึงอัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์ จากเมืองแจ้ตาก และ รอยพระพุทธบาท จากสุโขทัย มาประดิษฐานในเวียงใหม่ของพระองค์
             จวบจนในปี 2022 ทรงมีคดีกับพระเจ้าติโลกราช จึงทรงถูกถอดยศเจ้าเมืองออก แต่ยังได้ความปราณี ยังคงชุบเลี้ยงในฐานะพระโอรสบุญธรรมต่อไป ส่วนเมืองพะเยา พระเจ้าติโลกราชทรงเวนราชสมบัติให้นางเจ้าหมื่นเมืองพะเยาปกครองต่อ
            ยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา คือ มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดทางศิลปและวิทยาการในช่วงเวลาประมาณ 100 ปี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 (หรือหลัง พ.ศ. 2000) ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 (หรือหลัง พ.ศ. 2100) หรืออาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เริ่มที่ยุคพระยายุทธิษฐิระเป็นเจ้าครองเมือง แล้วสิ้นสุดลงก่อนที่ อาณาจักรล้านนาจะถูกพม่ายึดครองเมื่อ พ.ศ. 2101 ซึ่งพม่าเข้าครอบครองเมืองเชียงใหม่และดินแดนล้านนาทั้งหมด พร้อมกวาดต้อนผู้คนไปด้วย ทำให้บ้านเมืองต่าง ๆ ร่วงโรยลง เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ อำนาจของพม่าซี่งปกครองที่เมืองเชียงใหม่อ่อนแอลง และบางครั้งก็ถูกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยายกมารบกวนซ้ำอีก ทำให้บ้านเมืองต่าง ๆ ในดินแดนล้านนา คิดตั้งตัวเป็นอิสระแล้วแย่งชิงความกันเป็นใหญ่ จนเกิดความวุ่นวายทั่วไป ด้วยเหตุนี้เอง ฐานะและความสำคัญของเมืองพะเยาจึงหายจากดินแดนล้านนาราวกับร้างผู้คนไป
เมืองพะเยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
          ประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีดังนี้
            ปี พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยึดเมืองเชียงใหม่สำเร็จ และโปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็น เจ้าเมืองลำปาง ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายไทยเพื่อต่อต้านพม่าที่ยังยึดครองดินแดนล้านนาบางส่วน
             ปี พ.ศ. 2330 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) พม่ายกกองทัพเข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เดินทางผ่านเมืองฝาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยา เจ้าเมืองและชาวบ้านฝ่ายล้านนาต่างพากัน ลี้ภัยอพยพไปอยู่ลำปาง ทำให้เมืองพะเยาร้างไป
             ปี พ.ศ. 2386 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พระยาน้อยอินทร์ ผู้ครองนครลำปาง กับ พระยาอุปราชมหาวงศ์ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ทูลขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยา เป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ เจ้าหลวงวงศ์ (หรือ พุทธวงศ์) น้องชายของพระยาน้อยอินทร์ เป็น " พระยาประเทศอุดรทิศ " ผู้ครองเมืองพะเยา เจ้าหลวงยศ (หรือ มหายศ) เป็นพระยาอุปราชเมืองพะเยา เจ้าบุรีรัตนะ (หรือ แก้ว) เป็นพระยาราชวงศ์เมืองพะเยา เจ้าหลวงวงศ์นำชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลำปาง แล้วฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ทั้งสิ้น 7 องค์ มีดังนี้ 

 พ.ศ. 2386เจ้าหลวงวงศ์ เป็นผู้นำชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลำปาง แล้วฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นเจ้าเมืองพะเยาจนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2391 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3)
 พ.ศ. 2392เจ้าหลวงยศ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2398 (ตรงกับสมัยรัลกาลที่ 3-4 )
 พ.ศ. 2398เจ้าหลวงบุรีขัติยวงศา รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2403 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4)
 พ.ศ. 2403เจ้าหอหน้าอินทรชมภู รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2413 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4-5)
 พ.ศ. 2418เจ้าหลวงอริยะ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2436 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 )
 พ.ศ. 2436เจ้าหลวงมหาประเทศอุดรทิศ รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2448 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5)
 พ.ศ. 2449เจ้าอุปราชมหาชัยศีติสาร ได้รับสัญญาบัตรเป็นพระยาประเทศอุดรทิต ดำรงตำแหน่งผู้ครองเมืองพะเยาองค์สุดท้าย (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5)
          
ในระหว่างปี พ.ศ. 2437 ถึง พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิรูปการปกครองจากแบบเดิมเป็น “มณฑลเทศาภิบาล” มีการบริหารงานเป็นกระทรวง มณฑล จังหวัด อำเภอ ผู้บริหารระดับกระทรวงเรียกว่าเสนาบดี ผู้บริหารระดับมณฑลเรียกว่าสมุหเทศาภิบาล ผู้บริหารระดับจังหวัดเรียกว่าข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้บริหารระดับอำเภอเรียกว่านายอำเภอ เมืองพะเยาถูกปรับเปลี่ยนฐานะจาก “เมือง” เป็น “จังหวัด” เรียกว่า “จังหวัดบริเวณพะเยา” เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ มีที่ว่าการมณฑลอยู่เชียงใหม่             ในปี พ.ศ. 2448 ถูกยุบ “จังหวัดบริเวณพะเยา” ให้มีฐานะเป็น “อำเภอเมืองพะเยา” แล้วให้ เจ้าอุปราชมหาชัย ศีติสาร รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยา องค์สุดท้าย ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ให้ยุบ “อำเภอเมืองพะเยา” เป็น “อำเภอพะเยา” อยู่ในอำนาจการปกครองจังหวัดเชียงราย
             จากปี พ.ศ. 2457 จนถึงปี พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยา มีนายอำเภอทั้งสิ้น 25 นาย
การก่อตั้งจังหวัดพะเยา
             ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจังหวัดพะเยาตาม พระราชบัญญัติ เรื่อง ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 ให้ไว้ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2520
             จังหวัดพะเยา ตั้งขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคม 2520 ประกอบด้วยอำเภอ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก คนแรก


เกี่ยวกับพะเยา



จังหวัดพะเยา


"กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง 

บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม "



ข้อมูลทั่วไป



ชื่ออักษรไทยพะเยา
ชื่ออักษรโรมันPhayao
ผู้ว่าราชการนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)
นายกองค์การบริหาร

ธงประจำจังหวัด
นายวรวิทย์ บุรณศิริ







(ตั้งแต่ พ.ศ. 2555)
ISO 3166-2TH-56
สีประจำกลุ่มจังหวัด███ สีบานเย็น
ต้นไม้ประจำจังหวัด
สารภี

ดอกไม้ประจำจังหวัด
                                                                                                                     






ลักษณะนิสัยใจคอ ผู้คน :ยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารีย์มีน้ำใจ เป็นมิตร และรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
วิถีชีวิต :แบบพอเพียง พึ่งพาอาศัยกัน และให้เกีรติซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน
คติพจน์ :"สามัคคีคือพลัง"
  
                  เพลงกว๊านพะเยา
โอ้ธารสวรรค์ กว๊านพะเยา ธารรักเราครวญคร่ำ
ลมโชยพริ้วฉ่ำ ในวังน้ำวน พร่างพรมมนต์รักมา
ดูราวสายชลธาร สวยตระการอยู่ในนิททรา
แว่วเพลงรักของปักษา ร้องอำลาคืนรัง

โน่นทิวทุ่งลิบ รวงพิศเรืองรอง ราวสีทองเปลวปลั่ง
ธาราไหลหลั่ง ใสราวน้ำวัง ขังน้ำตาแห่งดาว
ห้วงน้ำลึกนัก ห้วงรัก...ลึกกว่าหลายเท่า
แม้รักมิจริงกับเรา อายกว๊านพะเยาหลายเท่าเอย
  
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่นสบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออก
เฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ
และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่
ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมือง อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง(บางส่วน) อ.เชียงคำ และ อ.แม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำหนิดของแม่น้ำยม
            เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ ดอยภูลังกา ดอยสันปันน้ำ ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่แฝก ดอยขุนแม่ต๋ำ ดอยขุนแม่ต๋อม

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดแพร่ น่าน และลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลาว และ น่าน





          

ข้อมูลสถิติ
พื้นที่6,335.060 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 34)
ประชากร484,454 คน[2] (พ.ศ. 2557)
(อันดับที่ 54)
ความหนาแน่น76.47 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 65)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดพะเยาถนนพหลโยธิน ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
โทรศัพท์(+66) 0 5444 9599
โทรสาร(+66) 0 5444 9588


   แผนที่จังหวัดพะเยา






ข้อมูลทั่วไป

สภาพทั่วไป          ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 735 กม. ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขา ที่ราบสูง มีระดับความสูงตั้งแต่ 300 – 1,550 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่่เป็นที่ราบ
ลักษณะภูมิอากาศเนื่องจากมีป่าไม้และภูเขาล้อมรอบจึงทำให้อากาศหนาวมากในฤดูหนาวและอากาศไม่ร้อน
จัดในฤดูร้อน มีเทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาผีปันน้ำ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำอิง แม่น้ำยม และแม่น้ำลาว
ที่ตั้งและอาณาเขต          จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเขตระหว่าง
เส้นรุ้งที่ 18 องศา 44 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 44 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 40 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 40 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

       ทิศเหนือ ติดเขต อ. พาน อ. ป่าแดด อ. เทิง จังหวัดเชียงราย
       ทิศใต้ ติดเขต อ. งาว จ. ลำปาง และ อ. สอง จ. แพร่
       ทิศตะวันออก ติดเขต แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ อ. ท่าวังผา อ. บ้านหลวง อ. สองแคว จ. น่าน
       ทิศตะวันตก ติดเขต อ. งาว อ. วังเหนือ จ. ลำปาง

ลักษณะภูมิประเทศ
             สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่นสบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออก
เฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ
และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่
ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมือง อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง(บางส่วน) อ.เชียงคำ และ อ.แม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำหนิดของแม่น้ำยม
            เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ ดอยภูลังกา ดอยสันปันน้ำ ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่แฝก ดอยขุนแม่ต๋ำ ดอยขุนแม่ต๋อม

ลักษณะภูมิอากาศ 
แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือน พฤษภาคม อุณหภูมิวัดได้ 39.5 องศา ซ.
2. ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฝนตกหนาแน่นในเดือนพฤษภาคม ฝนตกตลอดปีประมาณ 1,043.9 มม. มีวันฝนตก 101 วัน
3. ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนพฤศจิกายน และ มกราคม อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 10.8 องศา ซ.ในเดือนธันวาคม
การปกครอง             ประกอบด้วย 9 อำเภอ คือ อ.เมืองพะเยา, อ.เชียงคำ, อ.เชียงม่วน, อ.ปง, อ.ดอกคำใต,้ อ.จุน, อ.แม่ใจ, อ.ภูซาง และ อ..ภูกามยาว แบ่งเป็น 68 ตำบล
            805  หมู่บ้าน

การปกครองท้องถิ่น

            - องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
            - เทศบาลเมือง 1 แห่ง
            - เทศบาลตำบล 11 แห่ง
            - องค์การบริหารส่วนตำบล 59 แห่ง
          
ประชากร            จำนวนประชากร เดือนมิถุนายน ปี 2549 มีทั้งสิ้น 486,348 คน เป็นชาย 239,731 คน เป็นหญิง 246,617 คน จำนวนครัวเรือน  163,761 ครัวเรือน
            มีบนพื้นที่สูงอาศัยอยู่กระจัดกระจายตามบริเวณเทือกเขาสูง ได้แก่ เผ่าลื้อ เผ่าเย้า เผ่าแม้ว เผ่าลีซอ และเผ่าถิ่น จำนวน 45 หมู่บ้าน 2,658 ครัวเรือน
            โดยกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ เช่น อ.เมืองพะเยา อ.ปง  อ.เชียงคำ  อ.เชียงม่วน  อ.แม่ใจ  อ.ภูซาง และอ.ดอกคำใต้ 
การเกษตร
ในปี 2548 จังหวัดพะเยามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งสิ้น ประมาณ 410,825 ไร่ ีผลผลิตประมาณ 431,643 ตัน
ีพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ ประมาณ 358,069 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 277,905 ตัน
พื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ 55,809 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 37,808 ตัน
มีเนื้อที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ประมาณ 116,167 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 229.76 ตัน
อาชีพหลักของประชากร คือ การทำนา
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย และยางพารา 
ผลิตภัณฑ์จังหวัด
            มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดพะเยา ตามราคาตลาด พ.ศ. 2548 จากข้อมูลของ
สำนักงานคลังหวัดพะเยามูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด เป็นเงิน 18,884 ล้านบาท และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 37,315 บาทต่อปี นับเป็นรายได้เฉลี่ยต่อหัว ลำดับที่ 15 ของภาค ลำดับที่ 57 ของประเทศ
            สาขาที่มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดมากที่สุดคือ สาขาการเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์ 5,139 ล้านบาท
            สาขาที่มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดรองลงมาคือ สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมแซม
ยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์ 3,656 ล้านบาท
            
การศึกษา
            ในปีการศึกษา 2549 จังหวัดพะเยา
                        มีสถานศึกษา จำนวน 347 แห่ง
                        มีนักเรียน/นักศึกษา รวมจำนวน 124,474 คน แยกเป็น
                       ในระบบโรงเรียน 95,534 คน  
                       นอกระบบโรงเรียน 28,940 คน
                      

การสาธารณสุข
            ในปี 2549 จังหวัดพะเยา
                        มีโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 8 แห่ง
                        มีโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
                        มีเตียงคนไข้ จำนวน 808 เตียง (เฉลี่ยเตียงคนไข้ 1 เตียงต่อประชากร 584 คน)
                        มีแพทย์ จำนวน 92 คน (เฉลี่ยแพทย์ 1 คนต่อประชากร 5,451 คน)
                        มีทันตแพทย์ จำนวน 21 คน (เฉลี่ยทันตแพทย์ 1 คนต่อประชากร 23,881 คน)
                        มีพยาบาล จำนวน 1,001 คน (เฉลี่ยพยาบาล 1 คนต่อประชากร 501 คน)
                        มีสถานีอนามัย จำนวน 94 แห่ง
                        มีคลินิคทุกประเภท จำนวน 60 แห่ง
การสารณูปโภค
                        ไฟฟ้า ในปี 2549 จังหวัดพะเยา มีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า 130,610 ราย
                        ประปา ในปี 2549 จังหวัดพะเยา
                        มีการประปาพะเยา-ดอกคำใต้ มีโรงกรองน้ำ จำนวน 2 แห่ง โดยใช้น้ำจากกว๊านพะเยา
                        ปัจจุบันให้บริการ น้ำสะอาดแก่ชุมชนเมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้
                        มีการประปาจุน จำหน่ายน้ำ 3 เขต คือ อ.จุน อ.ปง อ.เชียงคำ
                        มีกำลังการผลิตน้ำประปาทั้งสองแห่งประมาณ 7,708,800 ลูกบาศก์เมตร
                        มีจำนวนผู้ใช้น้ำประปา ประมาณ 17,098 ราย
โทรศัพท์
                       ในปี 2549 จังหวัดพะเยา มีหายเลขโทรศัพท์ 37,215 หมายเลข
                        เป็นของบริษัท ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) จำนวน 22,079 หมายเลข (มีผู้เช่า จำนวน 29,882 หมายเลข)
                        เป็นของบริษัทสัมปทาน จำนวน 15,136 หมายเลข (มีผู้เช่า จำนวน 13,841 หมายเลข)

การคมนาคมขนส่ง
                       จังหวัดพะเยา ใช้เส้นทางคมานาคมทางบกเป็นหลัก โดยมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง กรุงเทพ ฯ และระหว่างอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
                       1. ระยะทางจากอำเภอเมืองพะเยา ถึง 2. ระยะทางจากจังหวัดพะเยา ถึง
                                              - อ.ดอกคำใต้ 15 กม. - จังหวัดเชียงราย 94 กม.
                                              - อ.จุน 48 กม. - จังหวัดเชียงใหม่ 134 กม.
                                              - อ.เชียงคำ 76 กม. - จังหวัดลำปาง 137 กม.
                                              - อ.เชียงม่วน 117 กม. - จังหวัดแพร่ 138 กม.
                                              - อ.ปง 79 กม.
                                              - อ.แม่ใจ 24 กม.
                                              - อ.ภูซาง 91 กม.
                                              - อ.ภูกามยาว 18 กม.
                        2.ทางด้านไปรษณีย์ จังหวัดพะเยา มีที่ทำการไปรษณีย์รวม 8 แห่ง (ที่อำเภอเมืองพะเยามี 2 แห่งคือ ที่ทำการไปรษณีย์พะเยา และที่ทำการไปรษณีย์หนองระบู

@ แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยา



=> อำเภอเมือง







อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง


จังหวัดพะเยาได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดที่ ๗๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวพะเยาจึงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองขึ้น บริเวณสวนสาธารณะริมกว๊านพะเยา เป็นรูปปั้นสำริดความสูงเท่าครึ่งขององค์จริงในท่าประทับยืน ทรงชุดกษัตริย์สวมมงกุฎ พระหัตถ์ถือดาบอาญาสิทธิ์ หันพระพักตร์ไปทางกว๊านพะเยา ประดิษฐานบนแท่นสูง ๒.๕๐ เมตร พ่อขุนงำเมืองเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพะเยา มีคนแวะเวียนมากราบไหว้สักการะอนุสาวรีย์ของท่านอยู่ตลอดวันเวลา ช่วงเทศกาลลอยกระทงจะคึกคักเป็นพิเศษ

ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พ่อขุนงำเมืองเป็นโอรสของพ่อขุนมิ่งเมือง กษัตริย์แห่งเมืองภูกามยาวหรือพะเยาในปัจจุบัน หลังจากพระราชบิดาสวรรคต พ่อขุนงำเมืองจึงขึ้นครองราชย์ในพ.ศ. ๑๘๐๑ จนถึง ๑๘๔๑ พ่อขุนงำเมืองเป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพ เป็นยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก เล่ากันว่าเสด็จไปทางไหน “แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่ฮำ” จะให้แดดออกฝนตกก็ได้ พ่อขุนงำเมืองปกครองเมืองภูกามยาวจนเจริญเป็น ๑ ใน ๓ อาณาจักรของชนเผ่าไทยแถบนี้ ซึ่งมีอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรพะเยา พ่อขุนงำเมืองยังเป็นพระสหายร่วมสำนักศึกษากับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และต่อมาได้เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพญาเม็งราย ทั้งสามพระองค์ทรงประกอบพิธีสาบาน หลั่งพระโลหิตจากปลายนิ้วลงในจอกสุราเดียวกัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำขุนภู แล้วประทับหันพระปฎษฏางค์พิงกัน (อิงหลังชนกัน) ตั้งสัตยาอธิษฐานว่าจะทรงรักใคร่ปรองดองซื่อสัตย์ต่อกันชั่วชีวิต แล้วต่างก็ดื่มพระโลหิตจอกนั้น ภายหลังถึงเรียกแม่น้ำขุนภูว่า “แม่น้ำอิง”

งานบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง เป็นงานประเพณียิ่งใหญ่ของชาวพะเยา จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ ๕ มีนาคม ซึ่งตรงกับวันประสูติของพ่อขุนงำเมือง งานจัดขึ้น ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ริมกว๊านพะเยา มีขบวนแห่สักการะจากทุกอำเภอจัดอย่างสวยงาม มีผู้คนจากทั่วสารทิศ เดินทางมาร่วมพิธีบวงสรวงจำนวนมาก





วัดราชคฤห์
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมือง มีบรรยากาศสงบร่มรื่น ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์องค์ไม่ใหญ่นักแต่งามน่าแวะเที่ยวชม ความโดดเด่น คือ ซุ้มประตูโขงและเจดีย์อันงดงาม ซุ้มประตูโขงเป็นซุ้มประตูทางเดินเข้าสู่วัด ประดับด้วยปูนปั้น นางฟ้าเทวดา พญานาค และดอกไม้ ลวดลายโดดเด่นสะดุดตา ยอดซุ้มประตูเป็นรูปพรหมสี่หน้า เจดีย์อยู่ด้านหลังโบสถ์ เป็นทรงแปดเหลี่ยมย่อมุม สูงประมาณ ๒๐ เมตร องค์เจดีย์มีซุ้มจระนำและเจดีย์บริวารทั้งสี่ทิศตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ลานประทักษิณรอบเจดีย์กว้างด้านละ ๑.๕๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ประตูทางเข้ามีสี่ด้าน มีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตูทุกด้าน นับเป็นเจดีย์ศิลปะล้านนาที่สวยงามของเมืองพะเยา





น้ำตกจำปาทอง
อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมถึง ๓ จังหวัดคือ เชียงราย พะเยาและลำปาง ที่ทำการอุทยานฯอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย ตัวน้ำตกจำปาทองอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา การเดินทางจากสี่แยกประตูชัย ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางอำเภอแม่ใจ กิโลเมตรที่ ๗ แยกไปทางซ้ายมือ ทางหลวงหมายเลข ๑๑๒๗ ผ่านวัดต๊ำม่อง วัดถ้ำกลางไปอีก ๕๐๐ เมตร พบทางแยกซ้ายให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๔ กิโลเมตร พบหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ดล.๖ (จำปาทอง) น้ำตกอยู่เลยหน่วยพิทักษ์ไปอีก ๓๕๐ เมตร น้ำตกอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๓ กิโลเมตร ที่ตั้งอยู่ที่บ้านต๊ำกลาง ต.ต๊ำ อ.เมือง ที่บ้านต๊ำในซึ่งอยู่ไกล้ๆกับน้ำตกมีชื่อเสียงในเรื่องการรักษาป่าอย่างเข้มแข็ง พื้นที่ป่าได้รับประกาศให้เป็นป่าชุมชน มีความอุดมสมบูรณ์เป็นต้นน้ำที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยา น้ำตกจำปาทองเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำตลอดทั้งปี สายน้ำลดหลั่นลงมา ๖ ชั้น ชั้นที่สวยที่สุดคือชั้นที่ ๒ และ ๓ และมีแอ่งให้ลงเล่นน้ำได้หลายแห่ง มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นระยะทาง ๒.๒๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ ๒ ชั่วโมง ผ่านป่าดงดิบแล้ง

โบราณสถานบ้านร่องไฮ
เป็นโบราณสถานที่เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ อยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นส่วนหนึ่งของวัดติโลกอารามในสมัยโบราณ บริเวณไกล้เคียงกันมีร่องรอยของศาสนสถานอยู่ประมาณ ๘-๙ แห่ง โดยมีกลุ่มโบราณสถานบ้านร่องไฮ ตำบลแม่ใส อำเภอเมือง หลักฐานที่เคยพบเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัดติโลกอาราม คือ จารึกวัดติโลกอาราม พบที่เนินสันธาตุในกว๊านพะเยาไกล้กับท้ายหมู่บ้านร่องไฮ


บ้านโบราณอายุร้อยปีริมกว๊านพะเยา
บ้านโบราณที่ยังคงสภาพเดิมอยู่ของจังหวัดพะเยา อยู่ริมถนนชายกว๊านเลียบกว๊านพะเยา ยังมีสภาพสมบูรณ์ให้สามารถชมดูได้ ซึ่งต้องขออนุญาติเจ้าของบ้านก่อน มีอยู่ ๒ หลัง


ตลาดเช้า
บรรยากาศเป็นตลาดพื้นเมืองที่อยู่ในย่านเทศบาล เป็นตลาดที่ขายอาหารสดที่มีในท้องถิ่นทางภาคเหนือ มีทั้งเห็ด ผักสดพื้นเมือง อาหารต่างๆ อาหารเช้าแบบชาวพะเยา กาแฟกับข้าวเหนียวร้อนๆ ทานกับปลาส้มทอด ปลาส้มห่อไข่ อร่อยสุดยอดไปเลยและปลานานาชนิดสดๆจากกว๊านพะเยา ไม่ควรพลาดที่จะมาเดินชมตลาดเช้าเมื่อมาถึงพะเยา


ตลาดโต้รุ่ง
ตลาดโต้รุ่งบรรยากาศคึกคัก ตั้งแต่เริ่มพลบค่ำ เหมาะสำหรับคนที่ชอบบรรยากาศและทานอาหารในตอนกลางคืน มีให้เลือกนับร้อยร้าน ตั้งอยู่บนถนนรอบเวียงประตูกลอง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาถึงพะเยา


ศาลหลักเมืองพะเยา
ศาลหลักเมืองพะเยาตั้งอยู่ริมถนนท่ากว๊าน มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน อยู่ไม่ไกลจากริมกว๊านพะเยามากนัก และไกล้ๆกันนั้นคือวัดศรีอุโมงค์คำ และอีกด้านหนึ่งเป็นวัดราชคฤห์ จากถนนประตูชัยเลี้ยวซ้ายไปจรดถนนท่ากว๊านก็สามารถเห็นศาลหลักเมืองได้อย่างชัดเจน ศาลหลักเมืองพะเยามีความสวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ควรพลาดทีจะต้องแวะไปกราบสักครั้งหนึ่งเมื่อถึงจังหวัดพะเยา

สถานีประมงน้ำจืดพะเยาและพระตำหนัก



เป็นสถานีประมงที่มีความสำคัญของภาคเหนือ มีการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดเพื่อจำหน่ายแจกจ่ายแก่ประชาชนเพื่อนำไปเป็นอาชีพ และเพื่อไปปล่อยยังแหล่งน้ำธรรมชาติ มีผลงานที่สำคัญของสถานีประมงน้ำจืดแห่งนี้คือ การผสมเทียมปลาบึกได้เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖


ภายในจึงมีการตั้งพิพิทธภัณฑ์ปลาบึกขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมและประชาชนทั่วไป สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยเสด็จมาประทับ ณ สถานีประมงแห่งนี้ เมื่อครั้งมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาในปีพ.ศ. ๒๕๑๔

ภายในสถานีประมงจึงมีพระตำหนักที่สมเด็จย่าเคยประทับและดูแลไว้เป็นอย่างดี พระตำหนักตั้งอยู่ไกล้พิพิทธภัณฑ์ปลาบึก เป็นเรือนไม้สองชั้น สภาพไกล้เคียงกับครั้งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จมาประทับ ข้าวของเครื่องใช้ยังมีสภาพเดิมทั้งสิ้น ที่ตั้งสถานีประมงน้ำจืดและพระตำหนัก จากสี่แยกประตูชัยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ลงไปทางทิศใต้ มุ่งหน้าไปทางสี่แยกแม่ต๋ำ ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๓ และทางเข้าวัดลีไปไม่ไกลก็ถึงทางเข้าสถานีประมงน้ำจืดพะเยาอยู่ทางซ้ายมือ